TKP HEADLINE

เรือโบราณแม่พวงมาลัย แห่งชุมชนบ้านบางชะนี

 



เรือยาว เป็นประเพณีกีฬาพื้นบ้าน มรดกวัฒนธรรมแห่งสายน้ำ สะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตอันดีงาม ความผูกพันระหว่างสายน้ำกับชีวิต เรือกับวิถีชีวิตบนพื้นฐานของความศรัทธาเลื่อมใสในคำสอนทางพระพุทธศาสนา อันนำมาซึ่งความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียว อันได้แก่ บ้าน วัด โรงเรียน ซึ่งเป็นองค์กรพื้นฐานของชุมชนชนบทไทยซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของชาติ ดังเช่น เรือแม่พวงมาลัย วัดโคกหิรัญ ตำบลบางชะนี อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อ่านต่อ

มณฑปหลวงพ่อโบ วัดโคกหิรัญ

 



ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ไม่ว่าผ่านไปกี่ยุคกี่สมัย วัด ก็ยังเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนไทยอยู่เสมอ ประเทศไทยมีวัดอยู่มากมายในแต่ละวัดก็จะมีเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันออกไป ทั้งในเรื่องของความสวยงามทางศิลปะ ความเก่าแก่ และมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ในปัจจุบันบุคคลทั่วไปนิยมท่องเที่ยว ไหว้พระขอพรเพื่อเป็นสิริมงคล วัดที่มีความสวยงาม มีเรื่องราวในประวัติศาสตร์ มีมากมากในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งหนึ่งในนั้น คือ วัดโคกหิรัญ ตำบลบางชะนี อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อ่านต่อ




ก้านธูป แห่งบ้านบางชะนี

 



ธูป เป็นสิ่งที่ใช้เป็นเครื่องสักการบูชาตั้งแต่สมัยอียิปต์โบราณ เพื่อบูชาเทพเจ้าหรือทำให้เทพเจ้าพอใจด้วยของหอมธูปไทยในอดีตที่ผลิตจากไม้หอม มีลักษณะคล้ายธูปจีนโบราณ ซึ่งการผลิตก้านธูปเป็นส่วนสำคัญในการผลิตธูป วัฒนธรรม การผลิตธูป และก้านธูปในไทย สืบทอดมาจากการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม และการค้าจากจีนในอดีต สืบทอดขั้นตอนวิธีการผลิตต่อกันมาเรื่อย ๆ จากรุ่นสู่รุ่น เกิดเป็นอาชีพท้องถิ่นของชุมชนบ้านบางชะนีในปัจจุบัน อ่านต่อ

อาชีพในท้องถิ่น



อาชีพท้องถิ่น ตำบลลาดบัวหลวง เกิดขึ้นจากโครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน โดยความร่วมมือของผู้นำชุมชน และการสำรวจความต้องการของชาวบ้านในชุมชน จนเกิดเป็น อ่านต่อ

การผลิตข้าวปลอดภัยจากสารพิษ



ภูมิปัญญาชาวบ้าน ประเภท เกษตรกรรม การผลิตข้าวที่ดี (GAP) ได้มาตรฐานข้าวปลอดภัยจากสารพิษชุมชนบ้านตะพังโคลน โดยนางวารี เรืองศรี ประธานวิสาหกิจชุมชนตำบลลาดบัวหลวง (นาแปลงใหญ่) มีสมาชิก 32 คน ตั้งอยู่บ้านเลขที่ 50/5 ม.4 ตำบลลาดบัวหลวง อำเภอลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โทร 065-593-9615

นางวารี เรืองศรี เป็นเกษตรกรที่เป็นประธานของโรงเรียนเกษตรกรในพระราชดำริบ้านตะพังโคลนในโรงเรียน อ่านต่อ

วัดท่าดินแดง




วัดท่าดินแดง

ในอดีตในช่วงก่อนการจัดตั้งโรงเรียน ชาวไทยมักเรียนหนังสือที่วัด โดยมีพระทำหน้าที่สอนหนังสือ ซึ่งเวลาของการเรียนการสอนไม่แน่นอน นักเรียนก็ล้วนเป็นเด็กผู้ชาย ส่วนเด็กผู้หญิงต้องอยู่ช่วยงานบ้านงานเรือน  แต่ในปัจจุบันสังคมได้เปลี่ยนแปลงไปเมื่อการศึกษาของประเทศได้พัฒนาเจริญก้าวหน้า รวมถึงการย้ายถิ่นฐานเพื่อการสร้างครอบครัว ทำให้การศึกษาขยายไปตามแหล่งที่อยู่ต่างๆได้มากขึ้น และการศึกษาได้แยกตัวออกจากวัด โดยตั้งเป็นสถานศึกษาเป็นเอกเทศ และครูผู้สอนก็มิได้เป็นพระสงฆ์ วัดกับสังคมไทยมีความห่างกัน เพราะคนในปัจจุบันติดโลกโซเชียล ติดหรูชอบเดินห้างแอร์เย็นสบาย น้อยคนนักที่จะนัดกันไปไหว้พระเหมือนในสมัยก่อน

แต่ถึงอย่างไรก็ตาม วัดยังมีบทบาทสำคัญต่อวิถีชีวิตของชุมชนตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย ที่เกี่ยวพันกับชาวไทยโดยมี อ่านต่อ

วัดโพธิ์ผักไห่


 

วัดโพธิผักไห่ เป็นโบราณสถานที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวของ ตำบลผักไห่ที่น่าสนใจ ตั้งอยู่164 หมู่ 4 ตำบลผักไห่ อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นวัดที่มีชื่อเสียงทางด้านวัตถุมงคลที่ทางวัดหลายยุค หลายสมัยจัดสร้างขึ้นและมีผู้เลื่อมใสศรัทธา มาเช่าไปบูชา เป็นจำนวนมาก จากประวัติที่ทางวัดได้บันทึกไว้ มีความเป็นมาของชื่อวัด คงเรียกกันว่า “ วัดโพธิ์” มาแต่เดิม และต่อมาได้นำชื่อตำบลมาต่อท้าย เมื่อประมาณ พ.ศ.๒๔๖๐ ยุคเจ้าอาวาสรูปที่ อ่านต่อ

วัดชีโพน



วัดชีโพน ตั้งอยู่เลขที่ 12 หมู่ 2 ตำบลผักไห่ อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สร้างขึ้นราว พ.ศ.2330 ตรงกับรัชกาลที่ 1 และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ.2340 ความเป็นมาของวัดชีโพนจากพระราชหัตถเลขาเรื่องเสด็จประพาสต้นตามลำน้ำมะขามเฒ่า เมื่อ พ.ศ.2451 เขียนว่าแต่ครั้นเมื่อไป วัดชีโพ ซึ่งเรียกว่า อ่านต่อ 

สมุนไพรไทย



นางพรทิพย์  ตั้งกีรติ อยู่บ้านเลขที่ 54 หมู่ 11  ตำบลผักไห่  อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โทร 035392522 วุฒิการศึกษา ปริญญาตรี  เป็นคนจังหวัดพระนครศรีอยุธยาโดยกำเนิด เป็นคนที่มีความสามารถในการนำสมุนไพรพื้นบ้านมาปรุงเป็นยาสมุนไพร เป็นอาหารเสริมบำรุงร่างกาย และเป็นของใช้ในชีวิตประจำวัน จำหน่ายทั่วไป

             ประวัติความเป็นมา ปราชญ์ชาวบ้านของตำบลผักไห่นั้น ได้นำ"ข้าว" มาแปรรูป ตามภูมิปัญญาความสามารถ มีความรู้ ทักษะและเทคนิค ทุกสิ่งทุกอย่างที่ชาวบ้านคิดขึ้น ได้เองและนำมาใช้ในการแก้ปัญหา เป็นเทคนิควิธีการเฉพาะตน เป็นองค์ ความรู้ของชาวบ้าน คิดเอง ทำเอง โดยอาศัยศักยภาพที่มีอยู่ แก้ปัญหาการดำเนินชีวิตในท้องถิ่นได้อย่างเหมาะสมกับยุคสมัย อ่านต่อ

การสานตะกร้าหวายเทียม

 




การสานตะกร้าจากหวายเทียม ของชาวบ้านตำบลลำตะเคียน ชุมชนตำบลลำตะเคียน อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา การสานตะกร้าจากหวายเทียม เป็นศิลปะการจักสานที่มีลวดลายสวยงาม การออกแบบ สีสันของเส้นหวาย ลวดลายต่าง ๆ ตามความต้องการของลูกค้า มีความละเอียดประณีต เรียบร้อย ได้มาตรฐาน คงทน มีประโยชน์ ราคาไม่แพง มีการพัฒนา อ่านต่อ

การทำขนมไทย

 

การทำขนมไทย



อาชีพการทำขนมไทยในพิธีกรรมและงานเทศกาลต่าง ๆ ของชาวบ้านตำบลลำตะเคียน

ชุมชน  ตำบลลำตะเคียน  อำเภอผักไห่  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ขนมไทยมีส่วนร่วมในวิถีชีวิตไทยในทุกเทศกาลและโอกาสต่างๆ แสดงให้เห็นถึงความผูกพันและเป็นส่วนสำคัญของวัฒนธรรมไทยตั้งแต่สมัยโบราณ ขนมที่ใช้ในงานเทศกาลและพิธีกรรมต่างๆ ก็คือขนมที่ทำจากไข่ และเชื่อกันว่าชื่อและลักษณะของขนมนั้นๆ เช่น รับประทานฝอยทอง เพื่อหวังให้อยู่ด้วยกันยืดยาว มีอายุยืน อ่านต่อ

การเลี้ยงกุ้งในนาข้าว


การเลี้ยงกุ้งขาว กุ้งก้ามกราม ในนาข้าว ของชาวบ้านตำบลลำตะเคียน

ชุมชน ตำบลลำตะเคียน  อำเภอผักไห่  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

             การเลี้ยงกุ้งของไทยในช่วงเริ่มต้นเป็นการทำนากุ้งแบบธรรมชาติ โดยการสูบน้ำทะเลเข้าสู่บ่อขนาดใหญ่ประมาณ 50-100 ไร่ กักเก็บไว้ประมาณ 20-30 วัน แล้วเก็บเกี่ยวผลผลิตโดยใช้ถุงอวนกั้นในขณะที่ปล่อยน้ำออก ผลผลิตที่ได้มีทั้งกุ้ง ปลา และสัตว์อื่นๆ ได้ผลผลิตประมาณ 40-50 กิโลกรัม/ไร่  ทั้งนี้นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 ที่กรมประมงประสบผลสำเร็จในการเพาะพันธุ์กุ้งแชบ๊วยได้ในโรงเพาะฟัก จึงส่งเสริมให้เกษตรกรที่ทำนากุ้งธรรมชาติ นำลูกกุ้งที่ได้จากการเพาะฟักไปปล่อยเสริมอ่านต่อ

นายอุดร สมบุญทวงค์

 



นายอุดร สมบุญทวงค์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น สาขาเกษตรกรรม เน้นการลดต้นทุน โดยใช้ฮอร์โมนนมสด และฮอร์โมนไข่

ชุมชน ตำบลลำตะเคียน อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

นายอุดร สมบุญทวงค์ อายุ 63 ปี อาชีพเกษตรกร

อยู่บ้านเลขที่ 11/4 หมู่ที่ 3 ตำบลลำตะเคียน อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โทร. 08-9224-0041 มีประสบการณ์ในการทำงานภาคเกษตร 24 ปี ในพื้นที่ 76 ไร่ ในช่วงปี พ.ศ. 2558 เริ่มเป็นผู้ดำเนินชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง โดยศึกษาจากโครงการพระราชดำริต่างๆ ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร ที่สามารถพึ่งพาตนเอง คิดค้นวิธีการลดต้นทุนการผลิต จนเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับชุมชน รวมถึงค้นคว้าฝึกอบรม และนำความรู้ต่างๆ ที่ได้รับ มาปรับใช้ลงมือทำในพื้นที่ ของตนเองโดยยึดพระราชดำรัส ในเรื่องหลักการทรงงาน เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา และผสมผสานองค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นในการทำการเกษตร อ่านต่อ

วัดลำตะเคียน

วัดลำตะเคียน แหล่งเรียนรู้ที่สืบทอด ทางวัฒนธรรมและวิถีชีวิตประเพณี จากอดีตจนถึงปัจจุบัน

ชุมชน ตำบลลำตะเคียน อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ในอดีตวัดเป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ทางวัฒนธรรมและประเพณี ที่ชาวบ้านจากชุมชนรอบๆ วัดหรือแม้จากสถานที่ห่างไกลได้เดินทางเข้ามาเพื่อศึกษา และรับการสั่งสอนอบรมทางด้านจิตใจ โดยมีพระภิกษุสงฆ์เป็นครูสอน แต่ในปัจจุบันสังคมได้เปลี่ยนแปลงไปเมื่อการศึกษาของประเทศได้พัฒนาเจริญมากขึ้น และการศึกษาได้แยกตัวออกจากวัด โดยตั้งเป็นสถานศึกษาเป็นเอกเทศ และครูผู้สอนก็มิได้เป็นพระสงฆ์ ดังนั้นเด็กไทยในยุคปัจจุบัน จึงมิได้มีความใกล้ชิดกับวัด และพระสงฆ์เฉกเช่นเมื่อก่อน แต่วัดยังมีความสำคัญในฐานะเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และประเพณีสำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วัดที่มีโบราณวัตถุและโบราณสถานอันงดงาม และมีคุณค่าทางศิลปะ เช่น ประเพณีทอดกฐินประจำปี ประเพณีตักบาตรเทโวโรหณะ พิธียกช่อฟ้า แห่เทียนพรรษา อ่านต่อ

 

ข้อคิดเห็นจากเครือข่าย TKP

 
Copyright © 2018 ศูนย์ข้อมูลความรู้ประชาชนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. Designed by OddThemes > Developed by mediathailand